วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

อาชีพ-เพลงชาติ-ธงชาติ และคุณลักษณะประชากรของมาเลเซีย


คุณลักษณะของประชากร  
                ชาวโอรัง อัสลี  คำว่าโอรัง อัสลี เป็นภาษามลายู หมายถึงชนชาติดั้งเดิม ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่สามกลุ่มและเผ่าเล็กเผ่าน้อยอีกกว่า ๒๐ เผ่า ประมาณร้อยละ ๙๐ อาศัยอยู่ในชนบท อีกส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ตามชานเมือง กลุ่มโอรังอัสลีมีชื่อเรียกว่า ซาไกหรือทาสขัดดอก 
                ชนกลุ่มเก่าแก่ที่สุดบนแหลมมลายูคือพวกเนกริโต ซึ่งเข้ามาในแหลมมลายูเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นโอรังอัสลีกลุ่มใหญ่ที่สุด โดยมากพวกนี้จะมีผิวคล้ำและผมหยิกฝอย มีรูปร่างหน้าตาเฉพาะตัวคล้ายชาวปาปัวนิวกินี หรือแอฟริกาตะวันออก  ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมมลายู และเป็นโอรังอัสลีเพียงกลุ่มเดียว ที่เป็นชนเร่ร่อนมีการทำการเพาะปลูกน้อยมาก ชอบย้ายหลักแหล่ง 
                ชนกลุ่มใหญ่รองลงมาคือ พวกเชนอย  เชื่อกันว่ามีบรรพบุรุษร่วมกับชาวเขาทางเหนือของกัมพูชาและเวียดนาม เข้ามาอยู่ในแหลมมลายู เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ - ๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว  ส่วนใหญ่จะทำไร่เลื่อนลอย เมื่อดินจืดก็ย้ายหลักแหล่ง มีอยู่เป็นจำนวนมากในที่ราบสูงคาเมรอน กลายเป็นแรงงานรับจ้างในไร่ชา 
                ชนอีกกลุ่มหนึ่งคือ โปรโตมาเลย์ อพยพมาจากเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เข้ามายังแหลมมลายูเมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ ปีก่อน ชาวมาเลย์รุ่นใหม่ มีบรรพบุรุษร่วมกับชนกลุ่มนี้อยู่ไม่น้อย 
                ชาวมาเลย์  ชาวมาเลย์ผูกพันกับแผ่นดินจนเรียกตนเองว่า ภูมิบุตรา หรือบุตรของแผ่นดิน  เป็นคนใจกว้าง เอื้อเฟื้อ ยิ้มง่ายและมีอารมณ์ขัน ชาวมาเลย์ในชนบท จะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ทำไร่ทำนา และรักใคร่กันในหมู่บ้านเดียวกัน 


ธงชาติมาเลเซีย

เพลงชาติของสหพันธรัฐมาเลเซีย  มีชื่อว่า "เนการากู" (โรมัน: Negaraku, ยาวี: نڬاراكو, แปลว่า "แผ่นดินของข้า") เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียเมื่อสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงสรรเสริญประจำรัฐเประ ซึ่งเพลงนี้ได้หยิบยืมทำนองมาจากเพลงฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า "ลา โรซาลี" (La Rosalie) อีกชั้นหนึ่ง ผู้ประพันธืทำนองเพลงนี้คือ ปีแยร์-ฌอง เดอ เบรังเยร์ (Pierre-Jean de Béranger) ชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2323 - 2400





ฟังเพลงชาติมาเลเซีย







วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ และแผนที่ประเทศ ของมาเลเซีย


ลักษณะภูมิประเทศ 
                มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยู่บนแหลมมลายู ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และหนองบึง ประมาณร้อยละ ๗๐ ของพื้นที่
                บริเวณชายฝั่งตะวันตก ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย และช่องแคบมะละกา เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ชายฝั่งเต็มไปด้วยหนองบึง และป่าไม้โกงกาง ผิวดินเป็นดินเหนียว และโคลนตม คงมีเหลือพื้นที่ราบซึ่งเป็นดินทรายบางบริเวณ พื้นดินตอนในห่างจากบริเวณที่ราบชายฝั่งสองด้าน ค่อย ๆ เปลี่ยนระดับเป็นที่ราบสูง บริเวณเชิงเขา พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินแดง และดินปนทราย ดินเหนียวและดินลูกรัง
                มาเลเซียตะวันออก  ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวตอนเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ
                ที่ราบชายฝั่ง และริมทะเลมีหนองบึง และป่าโกงกาง ที่เชิงเขา และทิวเขาสูงมีความสูงชัน มีเหวลึกปกคลุมด้วยป่าทึบยากแก่การสัญจร มียอดเขาสูงสุดอยู่ทางภาคเหนือ มีลักษณะผิวดินแตกต่างกันออกไป บริเวณพื้นที่รอบชายฝั่งส่วนใหญ่เป็นประเภทดินเหนียว และดินโคลนตม ซึ่งมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ในบริเวณบางแห่งมีกรวดทรายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก
            เทือกเขา  เทือกเขาสำคัญของมาเลเซียประกอบด้วยเทือกเขาบินดัง เทือกเขาโกฮิมหรือเทือกเขากลาง เทือกเขาตรังกานู ในแหลมมลายู และเทือกเขากินาบาลู ในเกาะบอร์เนียว ซึ่งมียอดเขาโกตาคินาบาลูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในมาเลเซีย
            แหล่งน้ำ  ในแหลมมลายูมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำคาดาห์ แม่น้ำซุนดา แม่น้ำเกรียน แม่น้ำเปรัค แม่น้ำปาหัง แม่น้ำกลันตัน แม่น้ำมุดา แม่น้ำเบอร์นัม แม่น้ำสลังงอร์และแม่น้ำกลัง
            ในเกาะบอร์เนียวมีแม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำรายัง มีความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร  แม่น้ำมาลุย ยาวประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำกินาบาดางัน
            ชายฝั่งทะเล ในแหลมมลายูฝั่งทะเลด้านตะวันออกติดต่อกับทะเลจีนใต้ ลักษณะท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยปะการัง และหินใต้ทะเลน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่าง ๆ ฝั่งทะเลมีความยาวประมาณ ๑,๙๐๐ กิโลเมตร  บริเวณชายฝั่งมีความลึกตั้งแต่ ๑๒๐ - ๓๐๐ ฟุต เป็นหาดทรายยาวเหยียดติดต่อกัน มีที่ราบลุ่มอยู่เป็นบางตอน ฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดเลน พื้นที่ลึกเข้าไปในบริเวณชายฝั่งเป็นที่ลุ่ม และหนองบึง และป่าไม้โกงกาง คงมีเฉพาะบางแห่งเท่านั้นที่มีหาดทราย
            ในเกาะบอร์เนียว ฝั่งทะเลบริเวณใต้สุดของทะเลจีนใต้ ท้องทะเลในบริเวณดังกล่าวมีความลึกพอสมควร มีกลุ่มหินปะการังอยู่เป็นหย่อม ๆ ในระยะลึก นอกจากนั้นยังมีหินใต้น้ำอยู่เป็นบางตอนในบริเวณใกล้ชายฝั่ง เป็นอุปสรรคในการเดินเรือใกล้ฝั่ง บริเวณฝั่งทะเลรัฐซาราวัคมีความลึกใกล้ฝั่งประมาณ ๒๐ - ๓๐ ฟุต  ห่างออกไปจากฝั่ง บางพื้นที่ลึกมาก บางแห่งลึกประมาณ ๒๐๐ - ๓๐๐ ฟุต
            บริเวณชายฝั่งของรัฐซาบาห์ ทิศเหนือติดต่อกับทะเลจีนใต้ ความลึกของทะเลมีมากกว่ารัฐซาราวัค 

ลักษณะภูมิอากาศ คือ ประเทศมาเลเซียมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของประเทศไทย แต่ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นสูตรและได้รับอิทริผลจากลมมรสุมจากมหวสมุทรอินเดียและ ทะเลจีนใต้จึงมีผลทำให้อุณภูมิไม่สูงนัก มีฝนตกเกือบตลอดปี และมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าประเทศไทย ไม่มีฤดูแล้งชัดเจน ทำให้ประเทศมาเลเซียมีปาไม้ อุดมสมบูรณ 


แผนที่ประเทศมาเลเซีย