คุณลักษณะของประชากร
ชาวโอรัง อัสลี คำว่าโอรัง อัสลี เป็นภาษามลายู หมายถึงชนชาติดั้งเดิม ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่สามกลุ่มและเผ่าเล็กเผ่าน้อยอีกกว่า ๒๐ เผ่า ประมาณร้อยละ ๙๐ อาศัยอยู่ในชนบท อีกส่วนหนึ่งอาศัยอยู่ตามชานเมือง กลุ่มโอรังอัสลีมีชื่อเรียกว่า ซาไกหรือทาสขัดดอก
ชนกลุ่มเก่าแก่ที่สุดบนแหลมมลายูคือพวกเนกริโต ซึ่งเข้ามาในแหลมมลายูเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็นโอรังอัสลีกลุ่มใหญ่ที่สุด โดยมากพวกนี้จะมีผิวคล้ำและผมหยิกฝอย มีรูปร่างหน้าตาเฉพาะตัวคล้ายชาวปาปัวนิวกินี หรือแอฟริกาตะวันออก ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมมลายู และเป็นโอรังอัสลีเพียงกลุ่มเดียว ที่เป็นชนเร่ร่อนมีการทำการเพาะปลูกน้อยมาก ชอบย้ายหลักแหล่ง
ชนกลุ่มใหญ่รองลงมาคือ พวกเชนอย เชื่อกันว่ามีบรรพบุรุษร่วมกับชาวเขาทางเหนือของกัมพูชาและเวียดนาม เข้ามาอยู่ในแหลมมลายู เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ - ๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว ส่วนใหญ่จะทำไร่เลื่อนลอย เมื่อดินจืดก็ย้ายหลักแหล่ง มีอยู่เป็นจำนวนมากในที่ราบสูงคาเมรอน กลายเป็นแรงงานรับจ้างในไร่ชา
ชนอีกกลุ่มหนึ่งคือ โปรโตมาเลย์ อพยพมาจากเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย เข้ามายังแหลมมลายูเมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ ปีก่อน ชาวมาเลย์รุ่นใหม่ มีบรรพบุรุษร่วมกับชนกลุ่มนี้อยู่ไม่น้อย
ชาวมาเลย์ ชาวมาเลย์ผูกพันกับแผ่นดินจนเรียกตนเองว่า ภูมิบุตรา หรือบุตรของแผ่นดิน เป็นคนใจกว้าง เอื้อเฟื้อ ยิ้มง่ายและมีอารมณ์ขัน ชาวมาเลย์ในชนบท จะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ทำไร่ทำนา และรักใคร่กันในหมู่บ้านเดียวกัน
ธงชาติมาเลเซีย |
เพลงชาติของสหพันธรัฐมาเลเซีย มีชื่อว่า "เนการากู" (โรมัน: Negaraku, ยาวี: نڬاراكو, แปลว่า "แผ่นดินของข้า") เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียเมื่อสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงสรรเสริญประจำรัฐเประ ซึ่งเพลงนี้ได้หยิบยืมทำนองมาจากเพลงฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า "ลา โรซาลี" (La Rosalie) อีกชั้นหนึ่ง ผู้ประพันธืทำนองเพลงนี้คือ ปีแยร์-ฌอง เดอ เบรังเยร์ (Pierre-Jean de Béranger) ชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2323 - 2400
ฟังเพลงชาติมาเลเซีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น